เพื่อให้การพัฒนาผู้ตรวจสอบเป็นไปตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักงานตรวจสอบ ในการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ตรวจสอบให้เกิดการตรวจสอบในแนวทางที่สร้างสรรค์ในเชิงป้องกัน สามารถให้ความเห็นหรือข้อแนะนำที่จะทำให้เกิดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในแต่ละหน้าที่งาน และสามารถนำหลักเกณฑ์ของการเพิ่มผลผลิต (Productivity) มาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงานที่ตรวจพบ รวมถึงนำแนวคิดเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมให้เป็นประโยชน์กับงานตรวจสอบ จึงจัดให้มีโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาผู้ตรวจสอบ ดังนี้
Training
1. โครงการอบรมภายในสำนักงาน
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้รับความรู้เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในรวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานตรวจสอบภายในที่ได้รับมอบหมาย ให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน จึงมีแผนงานการอบรมภายในโดยวิทยากรทั้งจากภายในหน่วยงานและจากภายนอกหน่วยงาน ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบได้เป็นวิทยากรผู้บรรยายให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
หัวข้อการบรรยายที่ดำเนินการแล้วในปี 2561 นี้ ได้แก่
1. ลักษณะงานของสำนักงานตรวจสอบ (Job Description of internal audit)
2. บทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในยุคใหม่ (leadership skill for Auditor)
หัวข้อการบรรยายที่ดำเนินการแล้วในปี 2560 นี้ ได้แก่
1. ความเข้าใจ"การใช้ระบบการตรวจสอบภายใน ระบบเดิม" IAIS (Internal Audit Information System)
2.การควบคุมภายในตามแนวคิด
COSO
2013
3. ความเข้าใจ"การใช้ระบบการตรวจสอบภายใน ระบบใหม่" IAIS (Internal Audit Information System)
4.เคล็ดลับเพิ่มผลิตภาพและปรับปรุงงานให้ได้ผล ProDUCTIVITY
IMPROVEMENT
5.เล่าเรื่องอย่างผู้นำ Coaching by story
6. Internal Audit in Disruptive Technology
7. การให้คำปรึกษา (Consulting)
8. Consulting : Activites Skills Attitudes
9. การควบคุมภายใน
10. กระดาษทำการภาคปฏิบัติ
11.Internal Audit Procede
แนวทางการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน
12. Creative Problem Solving for Auditors
การแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์
หัวข้อการบรรยายที่ดำเนินการแล้วในปี 2559 นี้ ได้แก่
1. การเขียนรายงานการตรวจสอบ
2. การตรวจสอบทุจริต
3. มาตรฐานการตรวจสอบ
4. การบริหารความเสี่ยง
Certificate
2. โครงการส่งเสริมประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในของประเทศไทย (CPIAT)
เพื่อเป็นการส่งเสริมเจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ตามมาตรฐานการตรวจสอบ รวมทั้งได้รับประกาศนียบัตรจากสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทยอันเป็นมาตรฐานแสดงถึงความรู้ความสามารถในวิชาชีพตรวจสอบภายในของผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์ของสมาคมฯ
สำนักงานตรวจสอบจึงกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้าอบรม ดังนี้
- จะส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเข้าอบรมเพื่อสอบรับประกาศนียบัตร ปีละ 2 คน เป็นเวลา 5 ปี
- คัดเลือกจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบใหม่ 1 คน และอาวุโส 1 คน
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบใหม่เคยผ่านการเรียนวิชาการตรวจสอบภายใน ส่วนเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอาวุโสพิจารณาจากศักยภาพด้านการตรวจสอบ
- สนับสนุนค่าใช้จ่ายการอบรมและค่าใช้จ่ายการสอบให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้เข้ารับการอบรม
- ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ที่อบรมและสอบได้ประกาศนียบัตรของสมาคมฯ
- หลังจากได้รับประกาศนียบัตรแล้วจะเป็นผู้แนะนำผู้เข้าสอบใหม่ๆ ต่อไป
Book
3. โครงการหนังสือแหล่งความรู้
สำนักงานตรวจสอบจัดหาหนังสือที่เป็นแหล่งความรู้ที่จะส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่สามารถศึกษาหาความรู้ที่เป็นประโยชน์และทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันจะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและเกิดแนวคิดในด้านการผลิตและใช้นวัตกรรมสำหรับงานตรวจสอบภายใน
รายชื่อหนังสือในโครงการ ณ ปัจจุบัน จำนวน 17 เล่ม CD 2 แผ่น แผ่นพับสรุป 1 ชุด ได้แก่
17 เครื่องมือนักคิด (Problem Solving Devices)
ประกอบด้วย Brainstorming / Flow Process Chart / Gantt Chart / Cause & Effect Diagram / Check Sheet / Pareto Diagram / Graph / Scatter Diagram / Histogram / Control Chart / Affinity Diagram / Relation Diagram / Tree Diagram / Arrow Diagram / Matrix Diagram / Matrix Data Analysis / Process Decision Program Chart
คู่มือประเมินผลงาน สู่ความสำเร็จในการพัฒนาคน (The Effective Performance Appraisal Handbook)
แนวคิดและวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางให้สามารถเลือกวิธีการและแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับลักษณะงานและธุรกิจขององค์กรมากที่สุด
เคล็ดลับเพิ่มผลิตภาพ และปรับปรุงงานให้ได้ผลใน 6 เดือน (Productivity Improvement in 6 Months)
แนวทางการปฏิบัติในการเพิ่ม Productivity ที่ต้องการให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยง่าย โดยไม่ได้เน้นที่ชื่อของเครื่องมือ แต่จะนำแนวคิดและหลักการของเครื่องมือที่สำคัญมาบูรณาการการใช้งานร่วมกัน
การวางแผนกลยุทธ์แบบง่ายๆ ที่ปฏิบัติได้จริง (Simple and Practical Strategic Planning)
ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์เชิงปฏิบัติการโดยอธิบายทุกขั้นตอนในการวางแผนกลยุทธ์อย่างละเอียด ตามรูปแบบที่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะ
วิธีสร้างดัชนีชี้วัดที่ได้ผลจริง (KPIs Principle to Practice)
การวัดความสำเร็จขององค์กรเป็นความท้าทายในการบริหารที่สำคัญ
สุดยอด 50 เครื่องมือบริหารจัดการอมตะ ที่ใช้ได้ผลจริงในทุกยุคสมัย (Essential Management Tools)
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการ (Management Tools and Techniques)
โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ Tragedy of Lost
เรื่องความล้มเหลวในองค์กร เป็นเรื่องที่ผู้บริหารหลายท่านพยายามจะทำเป็นข้ามๆ ไป พวกเขากลัวที่จะพบกับความเป็นจริงที่ว่า ความล้มเหลวต่างๆ ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากภาวะผู้นำของผู้บริหารทั้งสิ้น “โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ
เล่าเรื่องอย่างผู้นำ2 Coaching by Story2
ชนะใจลูกน้อง ด้วยวิธีง่าย ๆ แต่ได้ผลเป็นเลิศกับหนังสือ “เล่าเรื่องอย่างผู้นำ” (Coaching by Story) ซึ่งเป็นการเรียบเรียงงานเขียนของอาจารย์เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย ที่ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ คอลัมน์ เชื่อมช่องว่าง และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ คอลัมน์ Bridging the Gap โดยหนังสือเล่มนี้ได้คัดเลือกเรื่องราวที่น่าสนใจและจัดกลุ่มใหม่เป็น 4 หมวด คือ เล่ม 1 ประกอบด้วยหมวด Positive Attitude ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการจุดประกาย การเสริมสร้างกำลังใจ และทัศนคติเชิงบวกเมื่อเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรค เล่ม 2 ประกอบด้วย หมวด Leadership ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับภาวะผู้นำ, Coaching หมวดที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสอนงาน และหมวด Management ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมืออาชีพ และการทำงานกับคนต่างวัฒนธรรม
เล่าเรื่องอย่างผู้นำ4 Coaching by Story 4
กล่าวถึงบทบาทของผู้นำในการจูงใจ สอนงาน และบริหารทีมงาน ด้วยการสื่อสารโดยคำพูด ด้วยวิธีการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling ซึ่งจะแบ่งเรื่องราวที่น่าสนใจออกเป็น 2 หมวด คือ
1. Attitude เรื่องราวเกี่ยวกับแนวคิด มุมมอง และทัศนคติ ของคนทำงานที่ต้องใช้ความรู้ (Knowledge Worker) ที่เหมาะกับการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง
2. Coaching เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนได้สนทนากับผู้บริหารระดับสูง และโค้ชที่ผู้เขียนจ้างมาช่วยโค้ชผู้เขียนเอง
Work Like A Pro สร้างองค์กรด้วยยอดคน
หนังสือที่รวบรวมบทความจากกรุงเทพธุรกิจ โดยถ่ายทอดความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องเล่าจากผู้บริหารระดับสูงมาเป็นเรื่องราวสั้นๆที่ให้หลักการ มุมมอง และแนวคิดในการพัฒนาตนเพื่อก้าวสู่การเป็นคนคุณภาพ และเป็นที่ต้องการขององค์กรต่างๆ
Work Like A Pro 2 สร้างตนสู่ผู้มีผลิตภาพสูง
หนังสือเล่มนี้รวบรวมมาจากบทความที่เคยลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เป็นภาคต่อมาจาก หนังสือสร้างองค์กรด้วยยอดคน (Work Like a Pro 1) เพื่อมุ่งเน้นความเป็นเลิศในการทำงานทั้งพัฒนาคน และพัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งช่วยจุดประกายมุมมองความคิด และส่งเสริมให้การดำเนินชีวิตทั้งการงาน และชีวิตส่วนตัวของผู้อ่านให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ และเป็นคนดีของสังคมสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไปได้
Individual KPIs วิธีสร้างดัชนีชี้วัดระดับบุคคลที่ได้ผลจริง
หนังสือกล่าวถึงหลักการ แนวทาง ขั้นตอนและวิธีการในการจัดทำดัชนีชี้วัดระดับบุคล พร้อมตัวอย่างการจัดทำดัชนีชี้วัดระดับบุคคลขององค์กรภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวังในการใช้ดัชนี ชี้วัดระดับบุคล เพื่อนำไปพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างเป็นระบบ
Essentials of Managing Change
เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีองค์กรใดหลีกเลี่ยง
การเปลี่ยนแปลงได้ แต่การปรับองค์กรเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในโลกธุรกิจได้นั้น จำเป็นต้องทำอย่างมีทิศทาง ผู้นำ และกลยุทธ์ขององค์กร ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน
และผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงองค์กรดำเนินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิผล
TPM : Total Productive Maintenance
หนังสือเล่มนี้ จะเริ่มจากการสร้างพื้นฐานความเข้าใจเพื่อนำไปสู่ TPM ในส่วนผลิต และต่อเนื่องไปยังการขยายผลสู่ TPM ทั่วทั้งองค์การ ในตอนท้ายจะกล่าวถึงเรื่องปัจจัยสู่ความสำเร็จของ TPM ในทุกส่วนจะแสดงแนวคิดและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้อ่านได้ใช้เป็นจุดตรวจสอบความสัมฤทธิ์ผลของการอ่านในแต่ละบท
ตรวจสุขภาพองค์กรด้วย KM Assessment (KMA)
หนังสือ “การตรวจประเมินการจัดการความรู้ (Knowledge Management Assessment หรือ KMA)” เป็นหนังสือเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจัดทำขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการนำ KMA ไปใช้ในการตรวจประเมินระดับพัฒนาการของการจัดการความรู้ในองค์กรนำร่องทั้ง 11 แห่งจากภาครัฐและเอกชน ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2549-2554หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการความรู้และการใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award Criteria) มาแล้วในระดับหนึ่ง ดังนั้น จึงมิได้อธิบายหลักการพื้นฐานของทั้ง 2 เรื่องไว้ ท่านผู้อ่านสามารถหาข้อมูลดังกล่าวได้จากหนังสือ “การจัดการความรู้: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ” ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจัดทำขึ้น และจากหนังสือ “เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศ” ที่สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติจัดทำขึ้น เนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ๆ คือ• ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการและรูปแบบการตรวจประเมินการจัดการความรู้แบบต่างๆ
• การพัฒนาและองค์ประกอบของ Knowledge Management Assessment (KMA) ได้แก่ แบบตรวจประเมิน และกระบวนการตรวจประเมิน
• กรณีศึกษาขององค์กรนำร่อง 7 แห่งที่ได้กรุณาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์
• ผลการตรวจประเมินในภาพรวม รวมทั้งข้อคิดเห็นและบทเรียนที่ได้รับจากโครงการ
หนังสือเล่มนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หรือให้คำตอบแก่องค์กรที่กำลังมีคำถามว่า การจัดการความรู้ที่ตนเองกำลังทำอยู่นั้นไปถูกทางหรือไม่ ควรปรับปรุงในเรื่องใดบ้างและควรต่อยอดสิ่งที่ทำอยู่แล้วอย่างไร เพื่อใช้การจัดการความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุด
KAIZEN Suggestion System ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
เหมาะสมสำหรับองค์กรที่สนใจหรืออยู่ในช่วงเริ่มต้นการทำไคเซ็น สื่อการเรียนรู้เรื่อง “ระบบข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง” จะแนะนำให้รู้จักกับขั้นตอนที่สำคัญได้อย่างครบถ้วน ทำให้การเริ่มต้นปฏิบัติมีความสะดวก สร้างความร่วมมือ สามารถบริหารระบบอย่างมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน ส่งเสริมและจูงใจให้พนักงานทั่วทั้งองค์กรร่วมผสานพลังคิด พิชิตปัญหา พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนพนักงานทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
7 เปลี่ยน การลดต้นทุนจากความสูญเสีย 7 ประการ
การลดต้นทุนการความสูญเสีย 7 ประการ การลดความสูญเสีย เป็นพื้นฐานการปรับปรุงการปฏิบัติงานที่สำคัญ โดยที่ทุกคนในองค์กรต้องเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการปรับปรุงเพื่อให้กระบวนการปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสุงสุด ดังคำกล่าวที่ว่า “รับรู้ เข้าใจ แก้ไข ไม่สูญเสีย
เล่าเรื่องผู้นำระดับโลก
ภายในเล่ม ท่านจะได้อ่านแนวคิดและปรัชญาต่างๆของผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของโลก ทั้งในเรื่องการปกครอง การสร้างชาติ การบริหารธุรกิจ ตลอดจนถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมและงานศิลปะแขนงต่างๆ ซึ่งมีเรื่องราวที่น่าสนุก น่าติดตามตั้งแต่ต้นจนจบ
Series of excellence (แผ่นพับสรุป)
Series of excellence (แผ่นพับสรุป)
Development
4. โครงการแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล
การพัฒนาบุคลากรของสำนักงานตรวจสอบมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ให้สอดคล้องกับภารกิจและเป้าหมายของสำนักงานตรวจสอบและสภากาชาดไทย แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลของสำนักงานตรวจสอบจึงจะได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาบุคลากรทั้งหมดของสำนักงานให้บรรลุเป้าหมายของบุคคลซึ่งมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับพันธกิจ ยุทธศาสตร์ และค่านิยมขององค์กรที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาผู้ตรวจสอบรายบุคคล
- เพื่อให้บุคลากรมีสมรรถนะที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักงานตรวจสอบ
- เพื่อให้บุคลากรของสำนักงานตรวจสอบมีคุณสมบัติและสมรรถนะที่เพียงพอเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน
- เพื่อสนับสนุนแผนกลยุทธ์ของสำนักงานตรวจสอบในการสร้างศักยภาพให้กับผู้ตรวจสอบให้เกิดการตรวจสอบที่สร้างสรรค์ในเชิงป้องกัน
- เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานที่แตกต่างจากเดิมหรือสูงขึ้น
ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาผู้ตรวจสอบรายบุคคล
- ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดสมรรถนะและพฤติกรรมบ่งชี้ตามสมรรถนะที่ต้องการ
- ขั้นตอนที่ 2 การประเมินสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
- ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดเครื่องมือการพัฒนาสมรรถนะเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
- ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำแผนพัฒนาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายบุคคล (IDP)
- ขั้นตอนที่ 5 การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
- ขั้นตอนที่ 6 การติดตามและประเมินผลการพัฒนาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ