1. ด้านองค์กร (Organizational)
สำนักงานตรวจสอบ มีหน้าที่ช่วยกรรมการสภากาชาดไทยในการสร้างระบบกำกับดูแลกิจการที่ดีให้ได้มาตรฐาน และเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง อันจะช่วยให้สภากาชาดไทยดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายอย่างโปร่งใส
(ตามข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2549 ข้อ 42 อัฎฐ (4))
กิจกรรมการตรวจสอบเป็นอิสระจากอิทธิพลอื่นใด ทั้งในแง่ของขอบเขตการตรวจสอบ ขั้นตอน ระยะเวลา เนื้อหารายงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมาย และเป็นไปตามแผนการตรวจสอบที่วางไว้
ในการปฏิบัติงานตรวจสอบนั้น ผู้ตรวจสอบภายในจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลต่างๆ อันได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ ผู้บริหารระดับสูง หน่วยงานรับตรวจ และผู้สอบบัญชี
สำนักงานตรวจสอบวางนโยบายและวิธีการในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเพื่อให้ได้บุคลากรที่เหมาะสม และส่งเสริมพัฒนารวมทั้งรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์
2. ด้านการปฏิบัติงาน (Operational)
- สำนักงานตรวจสอบวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์
- สำนักงานตรวจสอบจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี เสนอให้คณะกรรมการตรวจสอบ พิจารณาให้ความเห็นชอบ
- สำนักงานตรวจสอบจัดทำแผนพัฒนาระบบงานตรวจสอบภายใน
ขั้นตอนการปฏิบัติงานตรวจสอบ ที่สำคัญได้แก่
- การจัดทำแผนการตรวจสอบ
- การดำเนินการตรวจสอบ
- รายงานผลการตรวจสอบ
- การติดตามผลการตรวจสอบ
รายงานผลการดำเนินงานตรวจสอบเสนอคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณารายไตรมาส
สำนักงานตรวจสอบจัดทำระบบการประกันคุณภาพงานตรวจสอบ (Quality Assurance) เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เชื่อมั่นในคุณภาพการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน
(รายละเอียดอยู่ในเว็บไซต์เรื่อง “การประกันคุณภาพงานตรวจสอบ”)