1. หลักการทั่วไป

ความหมายของการควบคุมภายใน

การควบคุมภายใน (Internal Control) คือ กระบวนการที่คณะผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจในระดับที่สมเหตุสมผลว่าการปฏิบัติงานจะสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน

  1. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการดูแลและการป้องกันรักษาทรัพย์สินที่มีอยู่ในหน่วยงาน
  2. ความเชื่อถือได้ของข้อมูลและรายงานทางการเงิน
  3. การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบการควบคุมภายใน

1. สภาพแวดล้อมการควบคุม
(Control Environment)

เป็นปัจจัยหรือมาตรการต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการควบคุมภายในหน่วยงาน เช่น โครงสร้างของหน่วยงาน ปรัชญาและลักษณะการทำงานของผู้บริหาร ความซื่อสัตย์และจริยธรรมในการบริหารงานและการปฏิบัติงาน เป็นต้น

2. การประเมินความเสี่ยง
(Risk Assessment)

เป็นกระบวนการที่ใช้ในการระบุ วิเคราะห์ และการจัดลำดับความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน รวมทั้งการกำหนดแนวทางในการควบคุมเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยง

3. กิจกรรมการควบคุม
(Control Activities)

เป็นนโยบาย วิธีปฏิบัติงาน และคำสั่งหรือข้อบังคับต่างๆ ที่หน่วยงานกำหนด เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นที่จะมีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

4. สารสนเทศและการสื่อสาร
(Information & Communication)

เป็นการจัดให้มีระบบสารสนเทศซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการเงินและการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันต่อเวลา รวมทั้งสะดวกในการเข้าถึงและมีความปลอดภัย ตลอดจนการจัดให้มีระบบการสื่อสารที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในงานที่สัมพันธ์กันอย่างทั่วถึง

5. การติดตามและประเมินผล
(Monitoring Activities)

เป็นกระบวนการสอบทานและพิจารณาการดำเนินงานตามระบบการควบคุมภายในที่กำหนดขึ้นของหน่วยงานว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นไปตามวัตถุประสงค์การควบคุมภายในอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุ้มค่า และมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ลักษณะของการควบคุมภายใน

1. การควบคุมในลักษณะของ Hard Controls

เป็นส่วนของการควบคุมโดยการกำหนดโครงสร้าง นโยบาย ระเบียบ และวิธีปฏิบัติต่างๆ ซึ่งรวมถึงการมีข้อบังคับหรือบทลงโทษผู้กระทำผิด โดยมีลักษณะที่เป็นหลักฐานมองเห็นได้

2. การควบคุมในลักษณะของ Soft Controls

เป็นส่วนของการควบคุมโดยการสร้างจิตสำนึกและคุณภาพที่มองเห็นไม่ได้ เช่น ความซื่อสัตย์และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น

2. การควบคุมภายในตามหน้าที่งาน

• วงจรรายได้

• วงจรทรัพย์สิน

• วงจรส่วนของทุน

• วงจรรายจ่าย

• วงจรหนี้สิน

3. การควบคุมภายในของหน่วยงาน

• การจัดซื้อจัดจ้าง

• การผลิต

• การบัญชี

• การบริหารทรัพยากรบุคคล

• งานบริหาร

• การบริหารวัสดุ

• การบริหารสินค้าคงเหลือ

• การเงิน

• เทคโนโลยีสารสนเทศ

4. ข้อกำหนดระบบการควบคุมภายในองค์กร

  • นโยบาย

  • วัตถุประสงค์

  • หลักการ

  • ผู้รับผิดชอบ หน้าที่และความรับผิดชอบ

  • กระบวนการปฏิบัติงานแต่ละหน้าที่งาน

  • การรายงาน

[powr-hit-counter id=f04713d8_1489652769]