การทำงานให้มีประสิทธิภาพด้วยการเพิ่มผลผลิต

ที่มา: ดร.สุทธิ  สินทอง. เคล็ดลับเพิ่มผลิตภาพ และปรับปรุงงานให้ได้ผลใน 6 เดือน. : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม. 2555.

อ่านเพิ่มเติม ตัวอย่าง:โตโยต้า นำProductivity พัฒนา SME ไทย

fraud

10 เทคโนโลยีใหม่ที่จะพลิกโลกทั้งใบ: เมื่อ AI ครองโลก อวัยวะต่ออินเทอร์เน็ตได้ และธนาคารจะหายไป?

เครดิต:- http://themomentum.co/successful-innovation-design-10emergingtechs
อ้างอิง:
– www.fluidicenergy.com
– การบรรยาย ‘A mouse. A laser beam. A Manipulated Memory’ โดย Steve Ramirez and Xu Liu
– บทความ ‘Top 10 Emerging Technologies of 2016’ โดย World Economic Forum
– บทความ ‘เซลล์สุริยะพิมพ์ได้’ โดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์
– บทความ ‘ระบบประสาทออพโตเจเนติค’ โดย สวทช.

อ่านเพิ่มเติม 10 เทคโนโลยีใหม่ที่จะพลิกโลกทั้งใบ: เมื่อ AI ครองโลก อวัยวะต่ออินเทอร์เน็ตได้ และธนาคารจะหายไป?

fraud

อินเทอร์เน็ตกับการเพิ่มผลผลิต (Internet Productivity)

การสร้างผลิตผลและประสิทธิภาพในการทำงาน ที่ได้จากโซลูชันทางอินเทอร์เน็ตนั้น ต้องอาศัยความเข้าใจ และการวางยุทธศาสตร์ในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้ส่งผลในการเพิ่มผลิตผลในการทำงานได้มากถึงสี่เท่า

เทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายยุคใหม่ ได้สร้างเครื่องมือในการสื่อสารที่มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างมากในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ดังนั้นกระบวนการในการเลือก และการนำเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้งานนั้น เป็นสิ่งที่มีความซับซ้อน เนื่องจากว่าถ้าเกิดการผิดพลาดจาการเลือกสรรแล้ว อาจจะกระทบถึงกระบวนการทางธุรกิจ และความสับสนต่อเจ้าหน้าที่และพนักงานได้

เพราะฉะนั้นการวางยุทธศาสตร์ในการเพิ่มผลผลิต หรือ Productivity นั้นต้องมีการศึกษาอย่างถี่ถ้วน ว่าจะนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้อย่างไร กับคำถามมากมาย เช่นจะเริ่มพัฒนาแอพพิเคชันสำหรับพนักงาน หรือจะพัฒนาแอพพิเคชันสำหรับบริการลูกค้าก่อนดี, ความสมดุลระหว่างการสร้างระบบที่มีความเสถียร และมีประสิทธิภาพกับความคุ้มค่าของการลงทุน, ทำอย่างไรที่จะแน่ใจได้ว่า ยุทธศาสตร์ในการใช้อินเทอร์เน็ต จะประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันก็ต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เต็มประสิทธิภาพ

คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ ต้องอาศัยองค์กรที่สามารถมองภาพที่ไกลกว่าแค่การตัดสินใจในการเลือกใช้เทคโนโลยี โดยได้อิงอยู่กับหลักการสี่ประการ อันได้แก่โครงสร้างของระบบเครือข่าย ควรที่จะเป็นระบบเปิด เพื่อที่จะรองรับการทำงานของแอพพิเคชันต่างๆ ในอนาคตได้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการพัฒนาแอพพิเคชันใหม่ๆ อีกทั้งรับประกันได้ว่า สามารถเชื่อมต่อ และใช้งานร่วมกันกับพันธมิตรทางธุรกิจและลูกค้าได้ ในกรณีที่มีการใช้แอพพิเคชันร่วมกัน ประการที่สองคือการจัดอันดับของการลงทุน โดยควรที่จะให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของการลงทุน และผลตอบแทนในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยโครงการที่สามารถคืนกำไรจากการใช้งานได้ในระยะเวลาอันสั้น ก็ควรที่จะอยู่ในอันดับต้นๆ ประการที่สามที่ต้องพิจารณาก็คือความง่ายในการนำมาใช้งาน สำหรับยุทธศาสตร์ในการนำอินเทอร์เน็ตมาเพิ่มผลผลิตของการทำงานนั้น จะดูกันที่ว่าเป็นการเพิ่มความซับซ้อน หรือลดความซับซ้อนของกระบวนการต่างๆ เช่นว่าระบบใหม่นี้ สามารถรวมเอาการสื่อสารด้านข้อมูลภาพและเสียง ไว้ในระบบเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนในการดูแลระบบสามระบบที่แยกจากกันได้ และประการสุดท้ายคือ เลือกรูปแบบที่มีความคล่องตัวสูง หรือมีทางเลือกในการใช้งานมาก ทั้งนี้เพื่อที่ว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว และคล่องตัวเพื่อให้ทันกับสภาวะการณ์ทางธุรกิจ และข้อดีอีกประการหนึ่งของการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาใช้งานก็คือ สามารถใช้งานได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก และองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งสำหรับองค์กรขนาดเล็กนั้น เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเติบโตไปพร้อมๆ กับธุรกิจของพวกเขา

การทำงานร่วมกันระหว่างระบบโครงสร้างด้านเครือข่าย และแอพพิเคชันที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตของการทำงาน สามารถส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต และประสิทธิภาพของการทำงาน รวมถึงทำให้องค์กรทำธุรกิจได้อย่างมีกำไรมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ประโยชน์มากมายจากการเพิ่มผลผลิต อย่างเช่นความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า จะสร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้อย่างมาก ไม่ว่าขนาดของธุรกิจจะใหญ่หรือเล็ก การตัดสินใจในการนำโซลูชันด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน จะสามารถช่วยให้เกิดคุณค่าในการเพิ่มประสิทธิภาพ และผลผลิตของการทำงานได้เป็นเท่าทวีคูณ

ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และความผันแปรของตลาดหุ้น ทำให้หลายต่อหลายบริษัทตกอยู่ในภาวะที่ไม่สู้ดีนัก และต่างก็พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ต่อไปได้ เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีบทความจากการให้สัมภาษณ์ของนายอลัน กรีนสแปน ที่ได้กล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ และผลผลิตของพนักงานไว้ว่า มีการเติบโตขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความจำเป็นในการเพิ่มผลผลิตของการทำงาน ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ สำหรับองค์กรต่างๆ ตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้พบว่า แนวโน้มเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ปรับตัวในทางบวกนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มผลผลิตในการทำงาน และเมื่อผสานกับแผนการลดภาษีของภาครัฐ ได้ช่วยเสริมให้มีการขยายตัวทั้งในด้านรายได้ และการใช้จ่าย ซึ่งส่งผลให้มีการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

ท่านผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่า การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในกาทำงานนั้น ไม่เพียงแต่ช่วยให้องค์กรหรือบริษัทในการสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันเท่านั้น แต่เมื่อมองในภาพกว้างแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่งด้วย และนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทยเรา ที่หลายต่อหลายหน่วยงาน ได้มีการประกาศการเติบโตทางเศรษฐกิจของเราในแนวบวก ซึ่งแสดงถึงการเติบโต และส่งสัญญาณถึงความมีเสถียรภาพมากขึ้น

ในขณะเดียวกันด้านประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างสิงคโปร์นั้น ได้ประสบปัญหากับการชลอตัวของเศรษฐกิจและ มีการคาดการณ์ว่า จะมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่ไม่มีความชำนาญงานเฉพาะด้านและ แรงงานผู้สูงอายุ ทั้งนี้เมื่อมองย้อนหลังไปจะเห็นว่าสิงคโปร์นั้นมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด และแทบจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา แต่แล้วเนื่องจากการถดถอยของเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาในช่วง2 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้กับประเทศสิงค์โปร์แล้ว ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการเปิดประเทศของจีน ที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกการค้าโลก และหลายต่อหลายบริษัทได้ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศจีน ที่มีค่าจ้างแรงงานและ ต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า

บางทัศนะมองว่า การเข้ามาของประเทศจีนนั้นหลายท่านอาจจะกลัวมากเกินไปว่า จีนจะใช้กลยุทธ์ด้านราคารวมกับต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า มาเป็นอาวุธในการแข่งขันในตลาดโลก แต่อีกมุมหนึ่งก็คือด้วยประชากรที่มากกว่า 1,300 ล้านคนนั้น สินค้าผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ จะส่งเข้าสู่ตลาดภายในประเทศเป็นหลัก และยังไม่เป็นถือว่าจะมีผลกับอัตราการส่งออกของประเทศอื่นๆ เท่าใดนัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอัตราการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีสื่อสารมาใช้งานในประเทศจีนนั้น มีการเติบโตที่สูงมาก และเติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งเป็นการเน้นย้ำว่า อินเทอร์เน็ตกับการเพิ่มผลผลิต และประสิทธิภาพในการทำงานนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการวางกลยุทธ์ในการใช้งานอย่างไร และความพร้อมในการใช้งานได้รวดเร็วเพียงใด

fraud

'คดีคลองด่าน' คดีที่รอคำอธิบาย

พฤติกรรมของคดี 

มติของ ครม.ได้อนุมัติให้ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในเขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปราการแบบ 2 ฝั่งในปี 2538 ต่อมาในปี 2540 กรมควบคุมมลพิษได้ปรับงบประมาณเพิ่มขึ้นโดยนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ รมช.กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมร่วมกับข้าราชการระดับสูงร่วมกับพวก 4 รายเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเป็นวาระเพื่อทราบจาก 12,800 ล้านบาทเป็น 22,900 ล้านบาท

ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่โครงการและรูปแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ทำให้มีบริษัทเพียงแห่งเดียวที่มีที่ดินที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข และบริษัทนี้มีน้องของนายวัฒนา อัศวเหม รมช.มหาดไทยขณะนั้นเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นการจัดซื้อที่ดินสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่คลองด่านมีการเปลี่ยนที่ก่อสร้างโครงการที่ ต.บางปลากด กับ ต.บางปูใหม่เป็นที่ ต.คลองด่าน ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าชายเลนและเป็นเขตป่าอนุรักษ์จึงไม่สามารถออกโฉนดได้ที่ดินมีราคาสูงกว่าปกติเพราะสำนักที่ดินจังหวัดสมุทรปราการประเมินราคาที่ดิน 17 แปลงในราคาไร่ละ 480,000 บาทแต่กลับขายในราคาไร่ละ 1.03 ล้านบาทรวม 1,900 ไร่การอนุมัติเงินเพื่อจัดซื้อโดยมิชอบคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินจำนวนที่มากกว่าเดิมในการซื้อที่ดินในการเจรจาต่อรองดำเนินการโดยนายปกิต กิระวานิช อธิบดีกรมควบคุมมลพิษในขณะนั้นและพวกที่ไม่มีหน้าที่ในการต่อรองราคาทำให้ภาครัฐเสียเปรียบส่วนในขั้นตอนการส่งเรื่องให้สำนักงบประมาณเพื่อพิจารณานายปกิตส่งรายละเอียดของราคาไม่ตรงตามที่เจรจา

ความเสียหายที่เกิดขึ้น

ค่าที่ดิน 1,960 ล้านบาท ค่าก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียและค่าจ้างบริษัทศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 21,000 ล้านบาท

ระบบบำบัดน้ำเสียไม่เกิดขึ้น ทั้งที่รัฐบาลสูญเสียงบประมาณไปแล้ว ปัญหาน้ำเสียในจังหวัดสมุทรปราการไม่ได้รับการแก้ไข

ผู้เกี่ยวข้องในคดี

นายวัฒนา อัศวเหม  นายยิ่งพันธ์  มนะสิการ กับพวก

สถานะของคดี

ผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อ่านคำพิพากษาคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวัฒนา อัศวเหมอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบถูกตัดสินจำคุก 10 ปี ปัจจุบันหลบหนี นายยิ่งพันธ์ มนะสิการถูกตัดสินว่ามีความผิดแต่ศาลจำหน่ายคดีเนื่องจากเสียชีวิตแล้วคดีคลองด่านได้มีการนำเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 2546 มีการไต่สวนมาหลายปี มีคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยตัดสินข้อพิพาทให้ คพ. ต้องจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าเสียหาย รวมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 ให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี ผู้รับเหมาโครงการออกแบบก่อสร้างระบบรวบรวม และบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ตัวเลขคร่าว ๆ แล้ว พบว่าจากเงินต้นที่ถูกฟ้องไว้คือจากเงินต้น 4,424,099,982 บาท และอีก 26,434,636 เหรียญสหรัฐนับตั้งแต่วันที่28 ก.พ. 2546 นั้นรวมแล้วอาจมีมูลค่าสูงถึง 9,000 ล้านบาท

พฤติกรรมของคดี 

มติของ ครม.ได้อนุมัติให้ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในเขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปราการแบบ 2 ฝั่งในปี 2538 ต่อมาในปี 2540 กรมควบคุมมลพิษได้ปรับงบประมาณเพิ่มขึ้นโดยนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ รมช.กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมร่วมกับข้าราชการระดับสูงร่วมกับพวก 4 รายเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเป็นวาระเพื่อทราบจาก 12,800 ล้านบาทเป็น 22,900 ล้านบาท

ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่โครงการและรูปแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ทำให้มีบริษัทเพียงแห่งเดียวที่มีที่ดินที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข และบริษัทนี้มีน้องของนายวัฒนา อัศวเหม รมช.มหาดไทยขณะนั้นเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นการจัดซื้อที่ดินสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่คลองด่านมีการเปลี่ยนที่ก่อสร้างโครงการที่ ต.บางปลากด กับ ต.บางปูใหม่เป็นที่ ต.คลองด่าน ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าชายเลนและเป็นเขตป่าอนุรักษ์จึงไม่สามารถออกโฉนดได้ที่ดินมีราคาสูงกว่าปกติเพราะสำนักที่ดินจังหวัดสมุทรปราการประเมินราคาที่ดิน 17 แปลงในราคาไร่ละ 480,000 บาทแต่กลับขายในราคาไร่ละ 1.03 ล้านบาทรวม 1,900 ไร่การอนุมัติเงินเพื่อจัดซื้อโดยมิชอบคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินจำนวนที่มากกว่าเดิมในการซื้อที่ดินในการเจรจาต่อรองดำเนินการโดยนายปกิต กิระวานิช อธิบดีกรมควบคุมมลพิษในขณะนั้นและพวกที่ไม่มีหน้าที่ในการต่อรองราคาทำให้ภาครัฐเสียเปรียบส่วนในขั้นตอนการส่งเรื่องให้สำนักงบประมาณเพื่อพิจารณานายปกิตส่งรายละเอียดของราคาไม่ตรงตามที่เจรจา

ความเสียหายที่เกิดขึ้น

ค่าที่ดิน 1,960 ล้านบาท ค่าก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียและค่าจ้างบริษัทศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 21,000 ล้านบาท

ระบบบำบัดน้ำเสียไม่เกิดขึ้น ทั้งที่รัฐบาลสูญเสียงบประมาณไปแล้ว ปัญหาน้ำเสียในจังหวัดสมุทรปราการไม่ได้รับการแก้ไข

ผู้เกี่ยวข้องในคดี

นายวัฒนา อัศวเหม  นายยิ่งพันธ์  มนะสิการ กับพวก

สถานะของคดี

ผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อ่านคำพิพากษาคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวัฒนา อัศวเหมอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบถูกตัดสินจำคุก 10 ปี ปัจจุบันหลบหนี นายยิ่งพันธ์ มนะสิการถูกตัดสินว่ามีความผิดแต่ศาลจำหน่ายคดีเนื่องจากเสียชีวิตแล้วคดีคลองด่านได้มีการนำเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 2546 มีการไต่สวนมาหลายปี มีคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยตัดสินข้อพิพาทให้ คพ. ต้องจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าเสียหาย รวมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 ให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี ผู้รับเหมาโครงการออกแบบก่อสร้างระบบรวบรวม และบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ตัวเลขคร่าว ๆ แล้ว พบว่าจากเงินต้นที่ถูกฟ้องไว้คือจากเงินต้น 4,424,099,982 บาท และอีก 26,434,636 เหรียญสหรัฐนับตั้งแต่วันที่28 ก.พ. 2546 นั้นรวมแล้วอาจมีมูลค่าสูงถึง 9,000 ล้านบาท

คลองด่าน 2 หมื่นล้าน…ทำไมต้องเสียค่าโง่

ในงานเสวนา “คลองด่าน 2 หมื่นล้าน ทำไมต้องเสียค่าโง่” โดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2558 นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวเสวนาตอนหนึ่งว่า อยากให้รัฐบาลชะลอการจ่ายเงินค่าโง่ จำนวน 9 พันกว่าล้านบาทให้กับกิจการร่วมค้า NVPSKG ไว้ก่อน เพื่อรอความชัดเจนในสามประเด็นคือ

  1. รอคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในคดีดังกล่าวกระทำผิดหรือไม่
  2. การพิจารณาความรับผิดทางละเมิดต่อเจ้าหน้าที่ ที่ยังไม่มีความชัดเจน เรื่องอยู่ที่ศาลปกครอง
  3. กรณีที่กรมควบคุมมลพิษฟ้องบริษัทเอกชนที่หลอกนำที่ดินสาธารณะมาขายให้ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นศาลฎีกา ยังไม่มีความชัดเจนว่า ใครจะชนะคดี จึงควรรอให้ประเด็นเหล่านี้ชัดเจนก่อน กระบวนการยังไม่จบสิ้น การให้จ่ายเงินให้บริษัทเอกชนเป็นเพียงมติ ครม. ไม่ถือเป็นกฎหมาย สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ที่มา: องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) www.anticorruption.in.th

Corruption

บิ๊ก ททท. กับพวกรับสินบนนักธุรกิจชาวอเมริกัน

พฤติการณ์แห่งคดี 

ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เรียกรับเงินจากสองสามีภริยานักธุรกิจชาวอเมริกัน เพื่อช่วยเหลือให้ได้สิทธิจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ และสัญญาว่าจ้างอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 10 ล้าน USD

นางจุฑามาศ ศิริวรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (The Bangkok International FilmFestival) หรือ บีเคเค ไอเอฟเอฟ ระหว่างปี พ.ศ.2546 – 2549 ดังนี้

  1. โครงการเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (บีเคเค ไอเอฟเอฟ) ปี พ.ศ.2546 ได้รับงบประมาณจำนวน 164 ล้านบาท
  2. โครงการเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (บีเคเค ไอเอฟเอฟ) ปี พ.ศ.2547ได้รับงบประมาณจำนวน 210 ล้านบาท
  3. โครงการเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (บีเคเค ไอเอฟเอฟ) ปี พ.ศ.2548ได้รับงบประมาณจำนวน 201.73 ล้านบาท
  4. โครงการเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (บีเคเค ไอเอฟเอฟ) ปี พ.ศ.2549ได้รับงบประมาณจำนวน 170 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีโครงการจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับงาน The Bangkok International FilmFestival (บีเคเคไอเอฟเอฟ) อีกจำนวน 21 รายการ ในจำนวนนี้ ปรากฏว่าบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของสองสามีภริยาชาวอเมริกันคู่นี้ รวมถึงบริษัทที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นนิติบุคคลที่สองสามีภริยาชาวอเมริกันคู่นี้เป็นเจ้าของและดำเนินการอยู่ในเบเวอรี ฮิลส์ แคลิฟอร์เนีย รวม 3 บริษัท ได้รับการจัดจ้าง จำนวน 16 รายการ โดยนางจุฑามาศ ศิริวรรณ ได้กระทำการทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ (The Bangkok International FilmFestival– บีเคเค ไอเอฟเอฟ) ระหว่างปี พ.ศ.2545 – 2549 โดยเรียกรับเงินสินบนจากสองสามีภริยาชาวอเมริกัน เพื่อแลกกับการได้รับสัญญาจ้างและสัญญาจ้างช่วงที่มีผลตอบแทนสูง เพื่อประโยชน์ของธุรกิจของบุคคลทั้งสอง ซึ่งภายหลังจากที่สองสามีภริยาชาวอเมริกันได้รับเงินจากการทำสัญญาว่าจ้างกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแล้ว จะจ่ายเงินให้กับนางจุฑามาศ ศิริวรรณ เป็นแคชเชียร์เช็คหรือการโอนเงินระหว่างประเทศจากบัญชีใดบัญชีหนึ่งจากธุรกิจของตนในลอสแองเจลิส ไปยังบัญชีในนามของนางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณ บุตรสาว หรือเพื่อนของนางจุฑามาศ ศิริวรรณ ในธนาคารที่อังกฤษ สิงคโปร์ ไอยล์ ออฟ เจอร์ซีย์ ซึ่งนางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณ บุตรสาว และเพื่อนของนางจุฑามาศ ศิริวรรณ ได้โอนเงินบางส่วนไปยังบัญชีที่ถือในนามนางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณ บุตรสาว ในต่างประเทศ ในบางครั้งสองสามีภริยาได้จ่ายเป็นเงินสดให้นางจุฑามาศ ศิริวรรณ โดยตรง รวมทั้งในระหว่างที่นางจุฑามาศ ศิริวรรณ เดินทางไปลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย นอกจากนี้ ภายหลังจากที่นางจุฑามาศ ศิริวรรณ ได้พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อประมาณเดือนกันยายน 2549 และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา ททท. ก็ได้ให้การช่วยเหลือสองสามีภริยาอย่างต่อเนื่องในการได้รับและคงไว้ซึ่งธุรกิจกับ ททท. รวมทั้งได้รับเงินคงค้างที่ถึงกำหนดจ่าย ทั้งนี้ปรากฏพยานหลักฐานว่ามีการฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณ จำนวนหลายครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2545 – มกราคม 2549 เป็นเงินจำนวน 348,500 USD

จากพฤติการณ์ที่นางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณ ร่วมรู้เห็นในการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ของนางจุฑามาศ ศิริวรรณ ดังกล่าวข้างต้น และยังมีพฤติการณ์เปิดบัญชีเงินฝากเพื่อให้มีการส่งเงินสินบนผ่านบัญชีเพื่อประโยชน์ของนางจุฑามาศ ศิริวรรณ โดยทุจริต จึงฟังได้ว่านางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณ บุตรสาวของนางจุฑามาศ ศิริวรรณ มีพฤติการณ์รู้เห็นเป็นใจในการที่นางจุฑามาศ ศิริวรรณ กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ข้างต้นด้วย

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของนางจุฑามาศ ศิริวรรณ มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในหน้าที่ ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 6 และมาตรา 11 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐกระทำการใดๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 และการกระทำของนางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณ มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว จึงมีมติให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีกับนางจุฑามาศ ศิริวรรณ และนางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 97

สถานะของคดี

คดีที่พนักงานอัยการฟ้องนางจุทามาศและบุตรสาวนั้น ศาลอาญาได้ประทับรับฟ้อง เป็นคดีหมายเลขดำ อ.ท.ที่ 14/58 โดยศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสอง ตีราคาวงเงินประกันคนละ 1 ล้านบาท

ศาลอาญา ให้โจทก์และจำเลยยื่นบัญชีพยานและแนวทางการต่อสู้คดีภายในวันที่ 18 ม.ค. 2559 และนัดพร้อมและไต่สวนในวันที่ 1 ก.พ. 2559

ที่มา: http://www.thaitangdaen-news.eu/ และ http://www.isranews.org/

bribe

ปรปักษ์ต่อการทุจริต

เผยเคล็ดลับ 10 ประการ ที่จะตรวจจับทุจริตในองค์กร

ไม่มีธุรกิจใดเลยสักแห่งเดียวที่รอดพ้นจากการทุจริตฉ้อโกง ธุรกิจและองค์กรสาธารณะ ทั้งหลายในทุกซอกทุกมุมของโลกนี้ล้วนต้องเผชิญกับการลักขโมย การกินสินบน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง ที่เกิดจากพนักงาน ผู้ขาย และแม้กระทั่งคนแปลกหน้า เมื่อต้องเผชิญปัญหาร้ายแรงเช่นนี้ ท่านจะพัฒนาองค์กรให้ต่อต้านการทุจริตคิดมิชอบได้อย่างไร ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน คือ ที่ปรึกษาด้านปราบปรามทุจริตเมืองดัลลัส, ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายในธุรกิจการพนัน และที่ปรึกษาด้านการกำกับดูแลความเสี่ยง และการควบคุมแห่งสหราชอาณาจักร ได้แลกเปลี่ยนเคล็ดลับ 10 ประการในการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อปราบปรามการทุจริตฉ้อโกง ดังนี้

  1. ความซื่อสัตย์ในระดับบริหารสูงสุด
  2. ชื่อเสียงในทางที่ดี
  3. ขั้นตอนการว่าจ้างพนักงานใหม่
  4. โปรแกรมเรื่องจริยธรรม
  5. นโยบายปราบปรามทุจริตเป็นลายลักษณ์อักษร
  6.  การสื่อนโยบายทุจริตกับผู้ขาย
  7. การสืบสวนที่เหมาะสม
  8. หน้าที่การตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระ
  9. การควบคุมภายในและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
  10. รายงานการตรวจสอบภายในอย่างเปิดเผย

โดยในแต่ละหัวข้อมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ความซื่อสัตย์ในระดับบริหารสูงสุด

ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ปัจจัยประกอบสำคัญสูงสุดข้อหนึ่งที่จะ ปลูกฝังองค์กรให้มีภูมิต้านทานการทุจริตฉ้อโกงอย่างแข็งแกร่ง ต้องเริ่มจากคณะผู้บริหาร ที่มีความซื่อสัตย์อย่างสูง รวมถึงตัวประธานบริหาร (CEO) ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (CFO) สมาชิกคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบด้วย จอห์น ไลน์ ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายในของ Spirit Mountain Gaming Inc ใน Grand Ronde, Oregon กล่าวว่า “ผู้บริหารระดับสูงต้องตระหนักว่าเรื่องใดเป็นเรื่องของจริยธรรมและเรื่องใดไม่ใช่ และกลั่นกรองจริยธรรมนั้นให้ระดับล่างนำไปปฏิบัติ หากคุณโกงภาษี ลูกๆ ของคุณก็จะ โกงภาษีเช่นกัน เหตุการณ์ที่เหมือนกันเช่นนี้จะเกิดขึ้นในแวดวงขององค์กร ดังนั้น CEO และ CFO ต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี และการปฏิบัติในระดับบนต้องเป็นจริงจังมากกว่าที่ จะเป็นเพียงแค่คำขวัญ หรือภาษิตที่ฟังรื่นหูเท่านั้น” นีล โคแวน ผู้อำนวยการโครงการควบคุมและตรวจสอบในบริสตอล, สหราชอาณาจักร ได้ก้าวนำไปอีกขั้นหนึ่ง เขากล่าว “มันต้องเริ่มจากคณะกรรมการ คณะกรรมการต้อง ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการทุจริตและหาทางป้องกันมิให้เกิดขึ้น คณะกรรมการต้องมั่นใจว่าวิธีการของตนเองต่อการปฏิบัติที่มีจริยธรรมจะสะท้อนไปทั่วทั้งองค์กร”

  1. ชื่อเสียงในทางที่ดี

คอร์ทเนย์ ทอมสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านปราบปรามการทุจริตฉ้อโกงแห่งสมาคมคอร์ทเนย์ ทอมสัน ในเมืองดัลลัส ได้อธิบายว่าองค์กรที่ได้รับความเชื่อถืออย่างสูง จะห่างไกลจากการตกเป็นเหยื่อแห่งการทุจริตเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นที่มีชื่อเสียง ในทางที่ไม่ดี เขากล่าวว่า “การชักจูงพนักงาน ลูกค้า ผู้ขาย และคนอื่นๆ มาเข้าข้างองค์กรในเชิงบวก ก็เท่ากับคุณก้าวเข้าไปใกล้การต่อต้านการทุจริตอีกก้าวหนึ่ง” เขากล่าวต่อไปว่า “การทำเช่นนั้นไม่ใช่ว่าเกิดจากการประชาสัมพันธ์ หรือเกียรติประวัติที่ดีงาม การบริจาคเงินหนึ่งล้านเหรียญช่วยเหลือองค์กรการกุศล เช่น Salvation Army หรือสภากาชาดนั้นเป็นการทำดี ทว่าการไล่ผู้บริหารระดับสูงออก เนื่องจากการกระทำผิดนั้นเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจน และมีพลัง นับเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับการบริหารที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาทันทีที่เกิดขึ้น” ไลน์ได้กล่าวยืนยันว่าสิ่งสำคัญคือ ควรตระหนักถึงนักลงทุน เพื่อนพนักงาน และชุมชนที่ธุรกิจของตนตั้งอยู่ เขาแนะให้องค์กรต่างๆ ถามตัวเองว่า “เราจะให้อะไรคืนแก่ชุมชนจากการที่เราได้เข้ามาทำมาหากิจอยู่ในพื้นที่ องค์กรของคุณต้องมีส่วนช่วยชุมชนและตระหนักถึงการสงเคราะห์ผู้คนในชุมชนนั้นๆ”

  1. ขั้นตอนการว่าจ้างพนักงานใหม่

ขบวนการคัดกรองที่เข้มงวดจะช่วยลดโอกาสในการจ้างคนที่มีแนวโน้มจะเข้ามาโกงกิน “การคัดเลือกผู้ขาย ผู้รับเหมา พนักงานชั่วคราว และการจ้างพนักงานใหม่ โดยให้เป็นไปตามกฎหมายและสัญญา จะสามารถคัดพวกคนที่เคยทุจริตมาก่อนออกไป” ทอมสันกล่าว ขบวนการจะเริ่มจากการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และตรวจสอบความไว้วางใจ สำหรับบางตำแหน่งที่สำคัญ ๆ “การสอบถามจากผู้ที่ได้รับอ้างอิงและตรวจสอบความถูกต้องของประวัติบุคคล เป็นสิ่งที่มีคุณค่าควรปฏิบัติ” เขายังแถมท้ายว่า “มีการประมาณกันว่าข้อความในประวัติบุคคลประมาณร้อยละ 10-25 จะเรื่องไม่จริงรวมอยู่ด้วย”

  1. โปรแกรมเรื่องจริยธรรม

ถึงแม้ว่าโปรแกรมเรื่องจริยธรรมจะดูเหมือนเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดว่าจะต่อสู้กับการคดโกง ได้ ผู้เชี่ยวชาญก็ยังเตือนว่าหากองค์กรเพียงแต่ฝึกอบรมเรื่องจริยธรรมและไม่ได้เน้นย้ำ จิตวิญญาณแท้จริงในการปราบปรามทุจริตก็เท่ากับเป็นการเสียเวลาเปล่า “โปรแกรมจริยธรรมเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา แต่คุณจำเป็นต้องกำหนดว่าอะไรที่คุณพยายามจะทำให้สำเร็จ” ทอมสันกล่าว “หากว่าคุณเพิ่งจัดฝึกอบรมแล้วแจกประกาศนียบัตรว่าทุกคนได้ผ่านคอร์สนี้แล้ว นับว่าคุณพลาดประเด็นสำคัญไปเลยตรงที่หัวใจของจริยธรรมหรือการฝึกอบรม เรื่องการปราบปรามทุจริตนั้น ก็เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความเชื่อผิดๆ องค์กรที่มีความรับผิดชอบจะทำเช่นนั้นได้โดยใช้ทรัพยากรทั้งภายในและภายนอก การอบรมเรื่องจริยธรรมและปราบปรามทุจริต จะมีผลกระทบน้อยมาก หากผู้บริหารระดับสูงยังสนับสนุนให้รางวัลกับคนที่โกหก คดโกง หรือลักขโมย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตน ๆ” นายไลน์ยังเสริมว่า “โปรแกรมจริยธรรมนี้ต้องเป็นปรัชญาสด ๆ ใช้ได้ผลในระดับปฏิบัติการ, ไม่ใช่เป็นเพียงแผ่นพิมพ์คำแถลงวัตถุประสงค์ ที่ปิดไว้ตามฝาผนังทั่วไปหมด แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง”

  1. นโยบายปราบปรามทุจริตเป็นลายลักษณ์อักษร

องค์กรต้องนิยามว่าการกระทำอย่างไรเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้และจัดวางมาตรฐาน ว่าจะจัดการสืบสวนสอบสวนการทุจริตฉ้อโกงโดยวิธีใด เสร็จแล้วต้องวางนโยบาย เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนในการจัดการกับกรณีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต นโยบายต้องแสดงถึงบูรณาการและข้อผูกมัดแท้จริง มากกว่าจะเป็นแค่เพียงอุดมคติที่ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ข้างต้นนี้ คือคำกล่าวยืนยันของทอมสัน เขายังได้เสนอแนะอีกว่านโยบายปราบปรามการทุจริตควรมีข้อปฏิบัติ ดังนี้

  • ห้ามกิจกรรมทุจริตทุกชนิด แม้การทุจริตนั้นจะให้ประโยชน์ต่อองค์กรก็ตาม
  • กำหนดคณะผู้รับผิดชอบในการสืบสวนสอบสวนการทุจริต
  • ให้พนักงานที่เกิดความสงสัยว่าอาจมีการทุจริตรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานสืบสวนสอบสวนโดยด่วน
  • ให้มีการสืบสวนสอบสวนทุกข้อกล่าวหาและข้อสงสัยว่ามีการกระทำผิด
  • ผู้ต้องสงสัยจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเหมือนกันหมด โดยไม่คำนึงถึงตำแหน่ง หรืออายุการทำงานในองค์กร
  • ให้ฝ่ายบริหารจัดการรับผิดชอบเมื่อได้ทราบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นในหน่วยงานของตน และทำการตรวจจับการกระทำผิดนั้น
  • ให้ฝ่ายบริหารจัดการให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายและ ผู้ออกกฎระเบียบ
  • ป้องกันการปกปิดพยานหรือการแก้เผ็ดพยาน
  • ให้มีการรายงานการสืบสวนทั้งหมดไปยังคณะกรรมการตรวจสอบ
  • จัดให้มีคณะผู้รับผิดชอบในการแจ้งเรื่องเรียกค่าเสียหายไปยังบริษัทที่มีข้อผูกมัดกัน และยื่นคำร้องเรียกค่าเสียหายในกรณีเกิดการทุจริตขึ้น

นายโคแวนเห็นด้วยว่าควรจะมีนโยบายที่เป็นมาตรฐานซึ่งได้รับการอนุมัติแล้วจาก คณะกรรมการบริษัท โดยระบุแนวทางเรื่องบทบาท ความรับผิดชอบ และวิธีการปฏิบัติในการสืบสวนสอบสวนการทุจริต เขากล่าวว่า “การสืบสวนต้องดำเนิน ไปตามแผนการอันละเอียดได้มาตรฐาน ตัวอย่างเช่น พนักงานที่น่าสงสัยว่าทำการ ทุจริตฉ้อโกง ควรถูกสั่งพักงานเพื่อรอการสอบสวน เมื่อพบหลักฐานที่ควรเชื่อถือได้ ผู้ตรวจสอบภายในควรแนะนำคณะกรรมการบริษัท หรือผู้บริหารระดับสูงให้เชิญ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือหน่วยงานสืบสวนเข้ามาประชุมด้วย” เขากล่าวเสริมต่อไปว่า  “นโยบายปราบปรามการทุจริตต้องแจ้งพนักงานทั้งหมดอย่างชัดเจนว่าฝ่ายบริหารจะไม่เปิดช่องทางให้มีการติดสินบนจากแหล่ง ใดๆ และจะไม่ปฏิบัติตนแบบกินสินบาท คาดสินบนด้วย พนักงานทั้งองค์กรต้องยอมรับนโยบายนี้ และต้องเซ็นชื่อรับทราบว่าตนต้องปฏิบัติตามกฎควบคุมความประพฤติ”

  1. การสื่อนโยบายทุจริตกับผู้ขาย

นายไลน์ กล่าวชี้แจงว่า การมีนโยบายปราบปรามการทุจริตที่มีชีวิต และมองเห็นได้เป็นรูปธรรมในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง นอกจากจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดแล้ว เรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือต้องทำให้ผู้ขาย หุ้นส่วนธุรกิจ และบุคคลอื่น ๆได้รับทราบนโยบายนี้ด้วย ในขณะนั้นเขากำลังช่วย ร่างจดหมายที่องค์กรของเขาจะส่งไปยัง ผู้ขายรายใหม่ๆ เพื่อสื่อถึงนโยบายของบริษัทในเรื่องเกี่ยวกับการให้สินบน ของขวัญให้พนักงาน และสัมพันธ์ไมตรีพิเศษใดๆ

  1. การสืบสวนที่เหมาะสม

การสืบสวนทุจริตโดยรวดเร็วและละเอียดลออเป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวดในการขัดขวางการ คอรัปชั่นในอนาคต “สิ่งสำคัญคือ ต้องจัดการกับคนทุจริตโดยเร็ว และควรทำการแก้ไข ให้เป็นที่รับรู้โดยเปิดเผย” ไลน์แนะนำ “คุณจำเป็นต้องให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรรู้ว่า พฤติกรรมฉ้อฉล ไม่อาจจะยอมรับได้และผู้กระทำผิดต้องรับผลกรรมที่ทำไว้ แม้ว่าเป็นเรื่องน่าอับอายสำหรับบริษัทที่จะยอมรับว่ามีช่องโหว่ในระบบที่ทำให้เกิดการโกงกินขึ้น มันก็สำคัญที่ต้องยอมรับมีความผิดพลาดและอธิบายว่าคุณจะทำอย่างไร เพื่อแก้ไขปัญหานั้นมากกว่าจะปล่อยให้พวกฉ้อโกงหนีรอดไปอย่างลอยนวล เมื่อสถานการณ์เหล่านี้ได้รับ การปฏิบัติอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรก็จะเห็นว่าบริษัทไม่อาจจะอดทนแม้แต่น้อย เมื่อมีการทุจริตเกิดขึ้น

  1. หน้าที่การตรวจสอบภายในที่เป็นอิสระ

ทอมป์สันยืนยันว่า “ฝ่ายตรวจสอบภายในควรรายงานโดยตรงต่อ CEO หรือผู้บริหารระดับที่สูงกว่า ไม่ใช่รายงานต่อใครก็ได้ที่อยู่ในฝ่ายการเงิน การรายงาน CFO จะเป็นภัยต่อความเป็นอิสระและความเป็นรูปธรรม และทำให้การรายงานอย่าง ตรงไปตรงมาในเรื่องการทุจริตถูกแทรกแซง ยิ่งกว่านั้นกระบวนการสืบสวนสอบสวน ก็อาจถูกแทรกแซงด้วยเช่นกันเนื่องจาก CFO มักจะมีระเบียบวาระการประชุมของตนเอง”

  1. การควบคุมภายในและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ

หน้าที่การตรวจสอบภายในที่มีความสามารถ เห็นได้ชัดเจน และการควบคุมที่มีโครงสร้าง ดีจะช่วยจำกัดโอกาสที่จะเกิดการฉ้อโกง จะลดความเป็นไปได้ในการทุจริตได้อย่างสูงสุด ผู้เชี่ยวชาญการปราบปรามทุจริต กล่าวว่าหน่วยตรวจสอบภายในควรมีการปฎิบัติ ดังนี้

  • ทำให้แน่ใจว่ากระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กรมีการพิจารณาโอกาสที่จะเกิดการทุจริตฉ้อโกง และการควบคุมภายในต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการพิสูจน์ทราบ ความเสี่ยงและเป้าหมายโดยรวมขององค์กร
  • ทำให้แน่ใจว่า ความตระหนักถึงการควบคุมได้แทรกซึมแผ่ซ่านไปทั่วทั้งองค์กร
  • พิจารณาว่าทุกระดับในองค์กรมีการควบคุมที่เหมาะสมหรือไม่ และการควบคุมเช่นนั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารและ พนักงานหรือไม่
  • อุปถัมภ์หรือดำเนินการจัดการอบรมเรื่องปราบปรามการทุจริตแก่ฝ่ายบริหาร
  • วิเคราะห์ข้อมูล ระบุแนวโน้ม และมองหาหลักฐานการทุจริตในการตรวจสอบ ตามปกติ
  • ใช้เทคนิคการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยตรวจสอบเพื่อค้นหาการทุจริต วิเคราะห์ข้อมูล ระบุแนวโน้ม มีการสอดส่องดูแลอย่างต่อเนื่อง มีการหาเครื่องชี้วัดทุจริตใน การตรวจสอบตามปกติ และการตรวจสอบไปยังบุคคลที่สาม เช่น ผู้ขาย ผู้รับเหมา ตัวแทนประกัน และลูกค้า
  • ทำให้แน่ใจว่าองค์กรที่ทำงานตรวจสอบมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนากระบวนการ สืบสวนสอบสวนการทุจริตให้ได้มาตรฐาน
  • ดำเนินการหรือมีส่วนร่วมในการสืบสวนสอบสวน ซึ่งทำให้ผู้ตรวจสอบภายใน มีโอกาสได้เรียนรู้ถึงเส้นสนกลในว่าการควบคุมล้มเหลวได้อย่างไร
  • ตรวจสอบโปรแกรมจริยธรรม และชี้ชัดอย่างแข็งกร้าวลงไปยังจุดที่ องค์กรได้เบี่ยงเบนไปจากการปฏิบัติที่ดี หรือจากนโยบายจริยธรรมที่กำหนดไว้
  • ประเมินประสิทธิผลของการอบรมจริยธรรม และการติดตามผลการปฏิบัติ หลังการฝึกอบรม
  • พิสูจน์ภาพปัจจัยภายในและภายนอกที่กระทบต่อโปรแกรมจริยธรรม และการควบคุมที่มีอยู่เพื่อช่วยลดความเสี่ยง
  • รายงานการทุจริตทั้งมวลให้คณะกรรมการรับทราบ
  1. รายงานการตรวจสอบภายในอย่างเปิดเผย

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่า ทุกองค์กรควรปลุกใจให้พนักงานมีความกล้าหาญ ออกมา รายงานการกระทำที่ผิดโดยปราศจากความกลัวว่าจะโดนแก้แค้น นายโคแวน ได้อธิบายว่า “องค์กรควรมีนโยบายป่าวประกาศเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่ป่าวประกาศจะไม่หลุดกระเด็น จากตำแหน่ง” เขายังกล่าวต่อไปว่า การบริหารขั้นตอนปฏิบัติงานและความไว้ใจของ องค์กรจะล้มเหลว หากว่าพนักงานรู้สึกว่าต้องพึ่งการรายงานไปยังหน่วยงานภายนอก “นโยบายให้พนักงานเปิดเผยทุจริต ควรให้ความมั่นใจแก่พนักงานทุกคนว่า เขาสามารถ จะรายงานเรื่องที่การทุจริต ไม่เพียงต่อหัวหน้างานเท่านั้น แต่เขาสามารถรายงานตรง ขึ้นไปถึงระดับบริหารในคณะกรรมการเลยทีเดียว และผู้รายงานนั้นต้องได้รับการปกป้อง ไม่ให้มีการลงโทษเขา”

ทอมป์สันกล่าวว่า “ในบางสภาพแวดล้อม การใช้สายด่วนเพื่อรับแจ้งทุจริต เป็นเรื่องที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่ง แต่จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างมืออาชีพ ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร” กลุ่มนักสืบสวนที่ดีจะทำทุกอย่างที่สามารถทำได้ เพื่อปกป้องภัยผู้แจ้งเบาะแส” นายไลน์กล่าวเสริมว่า “สายด่วนนั้น ฝ่ายตรวจสอบภายในต้องบำรุงรักษาอย่างดี มีการโฆษณาให้ทราบโดยทั่วถึง และมีการเฝ้าติดตามตลอด” เขาชี้ให้เห็นว่าหน้าที่ตรวจสอบนั้น ต้องมีอิสระอย่าง ไม่มีใครเทียบ  ในองค์กรของเขาฝ่ายตรวจสอบภายในได้ร่วมการปฏิบัติงาน กับแผนกรักษาความปลอดภัยเพื่อบริหารสายด่วนที่เพิ่งมีการติดตั้งขึ้นมา เขากล่าวอีกว่า “การตอบสนองที่ทันเวลาเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ผู้แจ้งข่าวลับ รู้ว่าบริษัทใส่ใจและ ชื่นชมการรายงานของเขา”

ปรปักษ์ที่น่าปรารถนา

ถึงแม้จะไม่มีหนทางใดที่ทำให้องค์กรปราศจากทุจริตโดยสิ้นเชิง แต่ความเพียรพยายามโดยรวมทั้งหมดเพื่อจำกัดโอกาสผู้ทุจริตและดับความปรารถนา ที่จะก่ออาชญากรรม สามารถพิสูจน์ความมีประสิทธิผลในการต่อสู้กับปัญหาทุจริตได้ หัวใจสำคัญคือ

  •  1) จริยธรรมขององค์กรและนโยบายปราบปรามการทุจริต
  •  2) โครงสร้างการควบคุม และ
  •  3) หน้าที่ตรวจสอบภายในที่มีความสำคัญยิ่งยวด

ด้วยเสาหลักทั้ง 3 เสานี้ องค์กรก็มีอุปกรณ์พร้อมเพรียงที่จะสร้างปราการแวดล้อม อันมั่นคงแข็งแรงในการที่จะเป็นปรปักษ์ปราบปรามการทุจริตคิดมิชอบในทุกรูปแบบ

ที่มา : www.theiiat.or.th ; Cristina Brune, Editor . “Hostile to Fraud” Auditwire: Volume 25, Number5 – September/October 2003

แปลและเรียบเรียงโดย จันทิภา เดชณรงค์, CIA ผู้จัดการแผนกให้คำปรึกษาด้านธุรกิจและความเสี่ยง บริษัท เอินส์ท แอนด์ ยัง คอร์ปอเรทเซอร์วิสเซส จำกัด

fraud