จริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน

จริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน

เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลรวมทั้งได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่นจากบุคคลผู้เกี่ยวข้องผู้ตรวจสอบภายในต้องพึงประพฤติปฏิบัติตนภายใต้กรอบความประพฤติที่ดีงามในอันที่จะนำมาซึ่งหลักประกันความเชื่อมั่นที่เที่ยงธรรมและที่ปรึกษาที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ

จริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน ประกอบด้วยสาระสำคัญสองส่วนได้แก่

            1.หลักการ  ที่ผู้ตรวจสอบภายในพึงประพฤติปฏิบัติ ซึ่งสำนักงานกำหนดไว้ 4 หลักการ

            2.หลักปฏิบัติ  ที่ช่วยในการประยุกต์นำหลักการไปใช้จริง

1. ความซื่อสัตย์ (Integrity)

2. ความเที่ยงธรรม (Objectivity)

3. การรักษาความลับ (Confidentiality)

4. ความสามารถในหน้าที่ (Competency)

นโยบายการตรวจสอบ

สำนักงานกำหนดนโยบายทั้งในด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบตลอดจนในด้านการบริหารงานอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางและเป้าหมายในการดำเนินงานซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารงานของสำนักงาน

นโยบายการตรวจสอบ

นโยบายการตรวจสอบภายใน

สำนักงานตรวจสอบให้บริการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Service) และให้คำปรึกษา (Consultancy Service) อย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ ด้วยความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงปฏิบัติ

นโยบายการบริหารบุคลากร

บุคลากรของสำนักงานตรวจสอบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถตามขอบเขตหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสำนักงาน

นโยบายการบริหารผลการปฏิบัติงาน

เครื่องมือการบริหารงานที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการปฏิบัติงานโดยสมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มงานจนสำเร็จ เพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพประสิทธิผลสำนักงาน

[powr-hit-counter id=f04713d8_1489652769]